วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นาฏศิลป์ ถิ่นสยาม


                                               ชาติสยามมีความงามวรรณศิลป์
คู่แผ่นดินถิ่นอารยธรรมล้ำสมัย
นาฏศิลป์ศรีสอางค์ช่างวิไล
งามละไมพิสดารตระการตา

    นางจรุงปรุงแป้งแต่งนวลพักตร์
ล้วนเลิศลักษณ์ขาวเด่นเป็นหนักหนา
เนตรขนงวงพักตร์ลักขณา
เสน่หารัญจวนชวนใจชม

   ห่มภูษาผ้างามตามฉบับ
แบบตำหรับประเพณีที่สวยสม
ตามโบราณกาลเก่าเขานิยมนิยม
ให้งามสมนางสวรรค์ชั้นเมืองแมน

   เริ่มชะม้อยค่อยกรีดกรายยักย้ายท่า  
งามสง่านาฏอนงค์วาดวงแขน
นางจีบนิ้วริ้วระบำดุจรำแพน
จังหวะแสนแซ่มซ้อยคล้อยทำนอง

     วงบรรเลงเพลงทีฆะรัสสะส่ง
ก้าวบรรจงเยื้องย่างอย่างพร้อมผอง
วาดลีลาศิลป์งามตามครรลอง
นัยตามองเย้ายิ้มพริ้มประไพ

     เหล่าฝรั่งดั้งขอต่างรอชม
ความงามสมนาฏสตรีศรีสมัย
ต่างชมชื่นรื่นรมย์สมฤทัย
อีกหลงไหลประเพณีวิถีงาม

    นาฏศิลป์งามวิสุทธิ์ประดุจเพชร
ผลึกเกร็ดแก้วมณีศรีสยาม
ธำรงไว้ให้เลื่องชื่อระบือนาม
คู่เขตคามประดุจสินแผ่นดินไทย

อ้างอิง http://www.wisdomthai.com ห้องสนทนาปัญญาไท

มุมแหล่งเรียนรู้ในชั้นเรียน พัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ




ใบความรู้ -ใบงาน




ชวนคุย เรื่องรำ ระบำไก่



ประวัติความเป็นมา
           ระบำไก่เป็นการแสดงประเภทระบำชุดหนึ่งในละครเรื่องพระลอ  ตอนพระลอตามไก่  ซึ่งมีเนื้อเรื่องว่า พระเพื่อน  พระแพง เจ้าหญิงแห่งเมืองสรอง สั่งให้นางรื่น นางโรย สองพี่เลี้ยงไปเร่งรัดให้ปู่เจ้าสมิงพรายใช้เวทมนต์คาถาไปล่อพระลอมา ปู่เจ้าสมิงพรายใช้ผีลงสิงในไก่แก้วและไก่บริวาร แล้วใช้ให้ไปล่อพระลอมา ซึ่งพระลอกับพี่เลี้ยงคือ นายแก้วและนายขวัญกำลังเดินทางมาหาพะเพื่อน พะแพง   เมื่อพระลอเห็นไก่แก้วแล้วก็ตามจับ ไก่แก้วก็หนีและล่อให้พระลอมาเมืองสรอง ในตอนนี้จะมีไก่แก้วและบริวารไก่ออกมารำในเพลงระบำไก่
ลักษณะรูปแบบการแสดง
           ระบำไก่มีลักษณะรูปแบบการแสดง ๒ แบบ คือ
                      แบบที่ ๑  เป็นการแสดงประเภทระบำ ที่มีลีลาท่ารำเลียนแบบท่ากิริยาของไก่   ลักษณะรูปแบบการแสดงเป็นระบำเบ็ดเตล็ดชุดหนึ่งที่ใช้ในการแสดงในโอกาสต่างๆ
                       แบบที่ ๒  เป็นการแสดงประกอบการการแสดงละครเรื่องพระลอ  โดยมีไก่แก้วและบริวาร ไก่ออกมารำรวมกัน  แล้วไก่แก้วก็จะเข้าไปหลอกล่อพระลอให้ไปหาพระเพื่อน พระแพง  ลักษณะการรำก็จะเป็นการรำเลียนแบบท่าทางของไก่  เมื่อพระลอตามไก่แก้วแล้วบรรดาบริวารไก่ก็จะบินเข้า
การแต่งกาย
            สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น  นุ่งกางเกงขาสามส่วน  สวมกรองคอ  จี้นาง  เข็มขัด  ข้อมือ  ข้อเท้า  เกล้ามวย  สวมเกี้ยวติดหัวไก่ ติดปีกและหาง
รูปการแต่งกายระบำไก่  (บริวารไก่)  ดูจาก CD-ROM
เครื่องดนตรี
           เครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบระบำไก่คือวงปี่พาทย์เครื่องห้า   ประกอบด้วยปี่ใน  ระนาดเอก  ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด  ตะโพนและฉิ่ง
รูปวงปี่พาทย์ดูจาก CD-ROM
 เนื้อร้องและทำนองเพลง
           เนื้อร้องเพลงระบำไก่เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงนำบทละครเรื่องลิลิตพระลอมาสร้างและประปรุงเป็นบทละคร มีเนื้อร้องและทำนองเพลงดังนี้ (กรมศิลปากร,๒๕๒๕ : ๙๑-๙๒)
พาทย์ทำนองเพลงลาวจ้อย
                                                                        ร้องลาวจ้อย
                                              สร้อยแสงแดงพระพราย            ขนเขียวลายระยับ
                                 ปีกสลับเบญจรงค์                                  เลื่อมลายยงหงสบาท
                                 ขอบตาชาดพะพริ้ง                                สิงคลิงหงอนพรายพรรณ
                                 ขานขับเสียงเอาใจ                                เดือยหงอนใสสีลำยอง
                                 สองเท้าเทียมนพมาศ                             ปานฉลุชาดทารงค์
                                 ปู่ก็ใช้ให้ผีลง                                         ผีก็ลงแก่ ไก่
                                ไก่แก้วไซร้บ่มิกลัว                                 ขุกผกหัวองอาจ
                                 ผาดผันตีปีกป้อง                                     ร้องเรื่อยเฉื่อยฉาดฉาน
โน้ตเพลงระบำไก่ โดยนายชุมพล ปัญจะ
- - - ฟ
ซ ล - ซ
- - - -
- ล - ซ
- - - ฟ
- ล ล ล
ซ ล - ซ
- ล – ดํ
- - - ล
ดํ รํ - ดํ
- - - ล
ซ ฟ ซ ล
- - ด ร
- ฟ - ซ
ล ซ ฟ ร
ฟ ด ด ด
- - - -
- - - -
- ด - ร
ฟ ซ ล ร
- - - -
- ด - ร
- - ด ร
ฟ ด ด ด
- - - -
- - - -
ดํ ล ซ ฟ
- ซ - ล
- - - -
- ฟ - ซ
ล ซ ฟ ซ
- ล - ฟ

ความหมายของเนื้อเพลง
          ขนไก่งามสีแดงระเรื่อผสมสีเขียวมันระยับ  ปีกของไก่สลับสีเบญจรงค์  ( ๕สี  ) งดงามด้วยลวดลายงดงาม  ขอบตาสีแดงชาด  มีหงอนสวยงาม  ขันได้ไพเราะ   มีเดือยสีเหลือ ง เท้าทั้งสองมีลวดลาย  งดงามดังทองเนื้อแท้ มีลวดลายฉลุ ลงสีงดงาม  ปู่เจ้าสมิงพรายสั่งให้ผีลงสิงไก่ ให้ไปล่อพระลอมา
ท่ารำ
           สอนปฏิบัติร้องและรำเพลงระบำไก่ตั้งแต่ต้นจนจบ ดูต่อจากCD-ROM
โอกาสที่ใช้แสดง
           ระบำไก่ ใช้แสดงได้สองโอกาสคือ
                      ๑.  เป็นระบำประกอบการแสดงละครเรื่องลิลิตพระลอ  ตอนพระลอตามไก่
                      ๒.  เป็นระบำเบ็ดเตล็ดใช้แสดงในโอกาสทั่วไป

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สื่อประกอบการเรียนการสอน




การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

            
                การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

                1.     วิธีการวัดและประเมินผล
                        1.1  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
                        1.2  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                        1.3  ตรวจชิ้นงาน และแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน         
                2.     เครื่องมือ
                        2.1  แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
                        2.2  แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                3.     เกณฑ์การประเมิน
                        3.1  การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม 
                                ผ่านตั้งแต่  2  รายการ  ถือว่า  ผ่าน 
                                ผ่าน           1  รายการ  ถือว่า   ไม่ผ่าน
                        3.2  การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                                คะแนน     9-10         ระดับ   ดีมาก
                                คะแนน     7-8           ระดับ   ดี
                                คะแนน     5-6           ระดับ   พอใช้
                                คะแนน     0-4           ระดับ   ควรปรับปรุง

                กิจกรรมเสนอแนะ

                ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงระบำไก่ที่หน้าชั้นเรียน
                การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics)

                การประเมิน ให้ผู้สอนพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics)เรื่อง  ปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงระบำไก่

เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน
4
3
2
1
ปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง
ระบำไก่
ปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงระบำไก่ได้สัมพันธ์กับหัวข้อที่กำหนดและแตกต่างจากที่ครูยกตัวอย่าง       มีการเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับตนเองและผู้อื่น
ปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงระบำไก่ได้สัมพันธ์กับหัวข้อที่กำหนดและแตกต่างจากที่ครูยกตัวอย่าง     แต่เชื่อมโยงให้เห็นเฉพาะตนเอง
ปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงระบำไก่ได้สัมพันธ์กับหัวข้อที่กำหนดตามที่ครูยกตัวอย่าง         แต่มีการดัดแปลงให้แตกต่าง
ปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงระบำไก่ได้สัมพันธ์กับหัวข้อที่กำหนดตามที่ครูยกตัวอย่าง


                                                                   แบบสังเกตพฤติกรรม 
                                                           เรื่อง ระบำไก่   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6





เลขที่


ชื่อ – สกุล

กิจกรรมกลุ่ม
แบบทดสอบก่อนเรียน
ฝึกปฏิบัติร้องเพลง
การส่งงาน
ความสนใจในการเรียน
แบบทดสอบหลังเรียน



รวม
เกณฑ์การประเมิน

ผ่าน

ไม่ผ่าน












  1.  











  1.  











  1.  











  1.  











  1.  











  1.  











  1.  











  1.  











  1.  












เกณฑ์การประเมิน 
                3   =   ดี
                2   =   ปานกลาง
                1   =   ต้องปรับปรุง
i

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน : กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี-นาฏศิลป์) เรื่อง ระบำไก่


  1. บุคคลใดต่อไปนี้เป็นผู้ประพันธ์บทร้องเพลงระบำไก่
ก.พระเจ้าบวรเธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ข.หลวงประดิษฐ์  ไพเราะ
ค.แม่ขวัญจิต  ศรีประจันต์
ง.ไวพจน์  เพชรสุพรรณ
2เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงชุดนี้คือเพลงใด
ก.ลาวดวงเดือน
ข.ลาวดวงเดือน
ค.ลาวกระทบไม้
ง.ลาวจ้อย
3.การแสดงชุดระบำไก่เป็นการแสดงที่อยู่ในละครเรื่องใด
ก. รถเสน
ข.ปลาบู่ทอง
ค.พระลอ
ง.อิเหนา
4.จากข้อ 3 การแสดงชุดระบำไก่เป็นการแสดงละครประเภทใด
ก.ละครพันทาง
ข.ละครนอก
ค.ละครใน
ง.ละครชาตรี
5.ใครเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำเพลงระบำไก่
ก.คุณครูรัจนา  พวงประยงค์
ข. คุณครูลมุล     ยมะคุปต์
ค. คุณครูจำเรียง  พุทธประดับ
ง.คุณครูเฉลย  ศุขะวณิช
6.เครื่องแต่งกายของนักแสดงที่เป็นไก่แก้วใส่เครื่องแต่งกายสีใด
ก.สีขาว
ข.สีฟ้า
ค.สีเขียว
ง.สีชมพู
7.เอกภาพของการแสดงระบำไก่ได้แก่ข้อใด ?
ก.ลักษณะของฝูงไก่
ข.กิริยาท่าทางของไก่
ค.การเลียนเสียงร้องของไก่
ง.การแต่งกายเลียนแบบไก่
8. ไก่ที่ปู่เรียกมาคือไก่อะไร
ก.ไก่แก้ว
ข.ไก่เพชร
ค.ไก่แจ้
ง.ไก่ฟ้างาม
9. ข้อใดไม่ใช่ระบำที่ปรับปรุงมาจากท่าทางของสัตว์
ก.ระบำไก่                  
ข.ระบำนกเขา
ค.ระบำนกยูง
ง.ระบำดาวดึงส์
10.ข้อใดคือระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นจากชีวิตความเป็นอยู่
ก.ระบำศรีวิชัย
ข.ระบำนกยูง               
ค.ระบำลพบุรี
ง.เซิ้งบั้งไฟ


เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน

Profile Narisara Moongkun


วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้การแสดงนาฏศิลป์ไทย ชุดระบำไก่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

แผนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนปัญญาประเสริฐวิทยา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ((((( ดนตรี-นาฏศิลป์หน่วยการเรียนรู้ที่  10 การแสดงนาฏศิลป์ไทย
แผนการเรียนรู้ ระบำไก่
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ปีการศึกษา 2556 เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ครูผู้สอน นางสาวนริศรา   มุงคุณ


สาระที่                                                                                                                                                                      
แผนการเรียนรู้ การแสดงนาฏศิลป์ไทย ชุดระบำไก่
มาตรฐานการเรียนรู้
                ศ 6.1      เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
                ศ 6.2      เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
ตัวชี้วัด
                       ศ 6.1 แสดงนาฏศิลป์ โดยเน้นการใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ในการสื่อความหมายและการแสดงออก
                ศ 6.2 ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้านที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและประเพณี
สาระสำคัญ
                    การแสดงระบำไก่เป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงความเป็นไทยที่มีความสวยงาม และมีคุณค่า จึงเป็นสิ่งที่ควรสืบสานและอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.             อธิบายเกี่ยวกับการแสดงระบำไก่ (K)
2.             ปฏิบัติการแสดงนาฏศิลป์ไทยในชุดการแสดงระบำไก่ ((P)

สาระการเรียนรู้
ระบำไก่
คุณลักษณะอันพึงประสงค์              
                รักความเป็นไทย
                ตัวชี้วัดที่ 7.1  ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมไทย และมีความกตัญญูกตเวที

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ 
              เตรียมความพร้อมด้วยเกมใบ้คำนำเรื่องไก่ ครูจะมีบัตรคำที่เกี่ยวกับไก่มาให้ตัวแทนนักเรียนทำท่าทางจินตนาการใบ้คำตามบัตรภาพให้เพื่อนทายเพื่อแลกกับชิ้นส่วนที่จะประกอบประดิษฐ์เป็นหัวไก่


 
                ครูนำบัตรคำ       ระบำไก่     มาติดไว้บนกระดาน ครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ไทย และระบำไก่
ขั้นสอน
        1.ครูเล่าวรรณคดีเรื่องพระลอ ตอนพละลอตามไก่ ให้นักเรียนฟัง ซึ่งปรากฏอยู่ ในประวัติการแสดงระบำไก่ และอธิบายถึงเนื้อร้องทำนอง วงดนตรีและเครื่องแต่งกาย 
        2.สาธิตท่ารำการแสดงระบำไก่ที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงความงดงามของท่ารำที่เลียนแบบอากัปกิริยาของไก่ให้นักเรียนดูและปฏิบัติตามทีละท่าจนถูกต้องและพร้อมเพรียงกัน
      3. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 5 คน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มประดิษฐ์ประกอบตกแต่งหัวไก่ และส่งตัวแทนนักเรียนเป็นไก่มา 1ตัวสวมหัวไก่มาแสดงหน้าห้องเพื่อให้นักเรียนร่วมกันแสดงความรู้สึกชื่นชมการแสดงระบำไก่ของกลุ่มตนเอง        
4.ให้นักเรียนเล่นเกม YES or NO โดยมีวิธีและขั้นตอนการเล่นดังนี้
                        *    ครูแจกป้ายวงกลม             กลุ่มละ 11หนึ่ง ชุด
                        *    ครูใช้คำถามเกี่ยวกับการแสดงระบำไก่ถามนักเรียน ถ้าข้อความถูกให้ยกป้าย  ถ้าข้อความผิดให้ยกป้าย   กลุ่มใดตอบถูกได้ 1 คะแนน
ขั้นสรุป
      5.ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ไทย ระบำไก่ โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
-      นักเรียนชื่นชอบอากัปกิริยาของไก่ที่เป็นท่ารำในเพลงระบำไก่ท่าใดมากที่สุด เพราะเหตุใดจึงชอบท่ารำนี้
      นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ว่าการแสดงระบำไก่เป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงความเป็นไทยที่มีความงดงามและมีคุณค่าจึงเป็นสิ่งที่ควรสืบสานและอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม
        ให้นักเรียนทำใบงานการแสดงนาฏศิลป์ไทยชุดระบำไก่
สื่อการเรียนรู้     
1.             บัตรคำ/บัตรภาพ
2.             ซีดีเพลงระบำไก่
3.             อุปกรณ์ประดิษฐ์หัวไก่ (ชิ้นงาน)
4.             แผ่นป้าย   และ
5.             ใบความรู้
6.             ใบงานการแสดงนาฏศิลป์ไทยชุดระบำไก่
การวัดผลและประเมินผล
1.             นักเรียนสามารถอธิบาย ตอบคำถามเกี่ยวกับระบำไก่
2.                นักเรียนสามารถปฏิบัติการแสดงนาฏศิลป์ไทยในชุดการแสดงระบำไก่
3.           ตรวจใบงาน

บันทึกหลังสอน
                ...................................................................................................................................................................................

ปัญหาและอุปสรรค
                ...................................................................................................................................................................................

แนวทางการแก้ไข
                ...................................................................................................................................................................................

  ลงชื่อ ....................................ครูผู้สอน                                                                                                              วันที่สอน

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร

                ........................................................................................................................................................................
  ลงชื่อ ....................................ผู้ตรวจ                                                                                                                   วันที่ตรวจงาน