วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้การแสดงนาฏศิลป์ไทย ชุดระบำไก่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

แผนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนปัญญาประเสริฐวิทยา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ((((( ดนตรี-นาฏศิลป์หน่วยการเรียนรู้ที่  10 การแสดงนาฏศิลป์ไทย
แผนการเรียนรู้ ระบำไก่
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ปีการศึกษา 2556 เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ครูผู้สอน นางสาวนริศรา   มุงคุณ


สาระที่                                                                                                                                                                      
แผนการเรียนรู้ การแสดงนาฏศิลป์ไทย ชุดระบำไก่
มาตรฐานการเรียนรู้
                ศ 6.1      เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
                ศ 6.2      เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
ตัวชี้วัด
                       ศ 6.1 แสดงนาฏศิลป์ โดยเน้นการใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ในการสื่อความหมายและการแสดงออก
                ศ 6.2 ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้านที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและประเพณี
สาระสำคัญ
                    การแสดงระบำไก่เป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงความเป็นไทยที่มีความสวยงาม และมีคุณค่า จึงเป็นสิ่งที่ควรสืบสานและอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.             อธิบายเกี่ยวกับการแสดงระบำไก่ (K)
2.             ปฏิบัติการแสดงนาฏศิลป์ไทยในชุดการแสดงระบำไก่ ((P)

สาระการเรียนรู้
ระบำไก่
คุณลักษณะอันพึงประสงค์              
                รักความเป็นไทย
                ตัวชี้วัดที่ 7.1  ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมไทย และมีความกตัญญูกตเวที

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ 
              เตรียมความพร้อมด้วยเกมใบ้คำนำเรื่องไก่ ครูจะมีบัตรคำที่เกี่ยวกับไก่มาให้ตัวแทนนักเรียนทำท่าทางจินตนาการใบ้คำตามบัตรภาพให้เพื่อนทายเพื่อแลกกับชิ้นส่วนที่จะประกอบประดิษฐ์เป็นหัวไก่


 
                ครูนำบัตรคำ       ระบำไก่     มาติดไว้บนกระดาน ครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ไทย และระบำไก่
ขั้นสอน
        1.ครูเล่าวรรณคดีเรื่องพระลอ ตอนพละลอตามไก่ ให้นักเรียนฟัง ซึ่งปรากฏอยู่ ในประวัติการแสดงระบำไก่ และอธิบายถึงเนื้อร้องทำนอง วงดนตรีและเครื่องแต่งกาย 
        2.สาธิตท่ารำการแสดงระบำไก่ที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงความงดงามของท่ารำที่เลียนแบบอากัปกิริยาของไก่ให้นักเรียนดูและปฏิบัติตามทีละท่าจนถูกต้องและพร้อมเพรียงกัน
      3. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 5 คน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มประดิษฐ์ประกอบตกแต่งหัวไก่ และส่งตัวแทนนักเรียนเป็นไก่มา 1ตัวสวมหัวไก่มาแสดงหน้าห้องเพื่อให้นักเรียนร่วมกันแสดงความรู้สึกชื่นชมการแสดงระบำไก่ของกลุ่มตนเอง        
4.ให้นักเรียนเล่นเกม YES or NO โดยมีวิธีและขั้นตอนการเล่นดังนี้
                        *    ครูแจกป้ายวงกลม             กลุ่มละ 11หนึ่ง ชุด
                        *    ครูใช้คำถามเกี่ยวกับการแสดงระบำไก่ถามนักเรียน ถ้าข้อความถูกให้ยกป้าย  ถ้าข้อความผิดให้ยกป้าย   กลุ่มใดตอบถูกได้ 1 คะแนน
ขั้นสรุป
      5.ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ไทย ระบำไก่ โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
-      นักเรียนชื่นชอบอากัปกิริยาของไก่ที่เป็นท่ารำในเพลงระบำไก่ท่าใดมากที่สุด เพราะเหตุใดจึงชอบท่ารำนี้
      นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ว่าการแสดงระบำไก่เป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงความเป็นไทยที่มีความงดงามและมีคุณค่าจึงเป็นสิ่งที่ควรสืบสานและอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม
        ให้นักเรียนทำใบงานการแสดงนาฏศิลป์ไทยชุดระบำไก่
สื่อการเรียนรู้     
1.             บัตรคำ/บัตรภาพ
2.             ซีดีเพลงระบำไก่
3.             อุปกรณ์ประดิษฐ์หัวไก่ (ชิ้นงาน)
4.             แผ่นป้าย   และ
5.             ใบความรู้
6.             ใบงานการแสดงนาฏศิลป์ไทยชุดระบำไก่
การวัดผลและประเมินผล
1.             นักเรียนสามารถอธิบาย ตอบคำถามเกี่ยวกับระบำไก่
2.                นักเรียนสามารถปฏิบัติการแสดงนาฏศิลป์ไทยในชุดการแสดงระบำไก่
3.           ตรวจใบงาน

บันทึกหลังสอน
                ...................................................................................................................................................................................

ปัญหาและอุปสรรค
                ...................................................................................................................................................................................

แนวทางการแก้ไข
                ...................................................................................................................................................................................

  ลงชื่อ ....................................ครูผู้สอน                                                                                                              วันที่สอน

ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร

                ........................................................................................................................................................................
  ลงชื่อ ....................................ผู้ตรวจ                                                                                                                   วันที่ตรวจงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น